Wednesday, December 10, 2008

article on Chanakarn BuNiKa Chatakul

Chanakarn BuNiKa Chatakul is a girl with imagination
and a camera in her hand.
NATNALIN issue 39 : Page 54 -55
Article on Chanakarn Bunika Chatakul 's works in an art magazine
บทความ ภูมิกมล ผดุงรัตน์ : จากหนังสือ NATNALIN (issue 39)
article by Poomkamol Phadungratna : from NATNALIN magazine
November, 2008
see sample pages of BuNiKa 's works in NATNALIN 39 - here

01

...

..แต่ยังมีงานอีกประเภทหนึ่ง คืองานประเภทบอกเล่าเรื่องราวชีวิต
เช่นงาน portrait, self portrait และ / หรือ biographical narrative
งานประเภทที่กล่าวถึงข้างต้นนี้ คนดูยังคงสามารถชื่นชมและ
ตีความหมายได้ โดยไม่ต้องมีความรู้ข้อมูลอะไรมากมาย (ดังเช่น
งาน visual arts แขนงอื่นๆ) แต่การที่ได้รับรู้บางสิ่งบางอย่างเกี่ยว
กับศิลปินผู้สร้างงานเหล่านี้ จะยิ่งช่วยให้เกิดความหมายความ
เข้าใจอย่างมากมาย และมิได้เป็นเพียงแค่หมายเหตุเล็กๆ ..แม้
การรับรู้ “ข้อมูลส่วนตัว” บางครั้งอาจนำสู่ “การชี้นำ” ก็เป็นไปได้
แต่นั่นก็เป็นเรื่องของคนดูที่จะต้องตัดสินใจเอาเอง (คือสิทธิในการ
ตีความหมายภาพก็ยังเป็นของประชาชนผู้ดูชิ้นงานดังกล่าวอยู่นั่นเอง)

และนี่คืองานในประเภทที่ ชนกานต์ บุณิกา ชาตกุล กำลังทำอยู่ขณะนี้

02

ก่อนอื่น เรามาทำความรู้จักกับเด็กผู้หญิงแปลกประหลาดคนนี้
ชนกานต์ บุณิกา ชาตกุล เป็นเด็กผู้หญิงที่มีจินตนาการ และมีกล้อง
ถ่ายรูปเป็นเครื่องมือ ชอบขีดเขียนรูปการ์ตูนบนฝาผนัง สมุดบันทึก
บนกระจกรถยนต์ (ของคนอื่น) บนประตูห้องเรียน

โดยเปลือกนอกแล้ว เธอดูเหมือนเด็กผู้หญิงปกติธรรมดาทั่วไป มา
จากครอบครัวชนชั้นกลางที่อบอุ่นสนุกสนาน ในละแวกบ้านชาน
เมืองที่เก่าแก่และสุขสงบ (เกินกว่ามาตรฐานกรุงเทพ) ..เธอมีเพื่อน
ฝูงมากมาย ทั้งเพื่อนสนิท - เพื่อนฉาบฉวย ซึ่งเป็นวิถีธรรมดาของวัยรุ่น
และอยู่ในกระแสวัฒนธรรมปัจจุบัน ไม่ว่าแฟชั่นหรืออุปกรณ์ของใช้
ประจำวัน

เธอมีสมองมากพอที่จะสอบเข้าโรงเรียนมัธยมชั้นนำของประเทศ
มหาวิทยาลัยของรัฐที่มีชื่อเสียง โดยที่ไม่ต้องทำตัวขยันอะไรสักเท่าใด ..
และตรงนี้แหละที่ความขัดแย้งในตัวของ ชนกานต์ บุณิกา ชาตกุล
เริ่มปรากฏให้เห็นเป็นรูปธรรม ..ในขณะที่เธอสามารถทำในสิ่งที่เด็ก
คนอื่นๆต้องใช้ความพยายาม อดทนและเสียสละความสุขส่วนตัว
อย่างมากมาย เพื่อที่จะได้มาซึ่งสิ่งที่ผู้ปกครอง (หรือสังคม) ปรารถนา –
นั่นคือการสอบเข้าโรงเรียนดีๆตามค่านิยมไทย แต่ชนกานต์สามารถ
ทำสิ่งเหล่านี้ได้ด้วยความพยายามเพียงครึ่งเดียว จนกลายเป็นความ
เชื่อมั่น ทั้งเชื่อมั่นในตนเอง และเชื่อมั่นในความเกเรของตนเอง จน
สามารถโยนโอกาสในมหาวิทยาลัยมีชื่อของรัฐ ทิ้งไปอย่างจงใจ..
เพื่อแลกกับความบันเทิงสุดขีดในช่วงหนึ่งของชีวิต ซึ่งเธอถือเป็น
แค่ประสบการณ์..มิใช่จุดจบของโลก –
เพราะเธอรู้ดีว่าย่อมมีทางไปที่ดีกว่าเสมอ

ชนกานต์เหมือนมีสองคนในร่างเดียวกัน
สองบุคลิกที่ขัดแย้งแตกต่าง บางครั้งเหมือนเป็นขั้วตรงข้าม
แต่บางครั้งก็เหมือนจะสมานฉันท์กันได้ด้วยดี ..ขึ้นอยู่กับอารมณ์ –
สถานการณ์ และประโยชน์ซึ่งหน้าในขณะนั้น

ก่อนที่จะมี ชนกานต์ ชาตกุล เกิดขึ้นบนโลกนี้
แต่เดิมนั้นมีเพียง บุณิกา ชาตกุล ..ในช่วงต่อระหว่างมัธยมต้น –
มัธยมปลายนั้น บุณิกาเริ่มกลายสภาพเป็นบางสิ่งที่ชั่วร้ายเกินการ
ควบคุม เกเร เจ้าเล่ห์ เอาแต่ใจ และมั่นใจในศักยภาพของตนเอง
อย่างน่าเอือมระอา - ในที่สุด สังคมรอบข้างเธอจึงพยายามเปลี่ยนแปลง
ยับยั้งพลังชั่วร้ายนี้ด้วยสัญลักษณ์ –

นั่นคือการเกิดของ ชนกานต์ (ผู้เป็นที่รักของมวลชน)
การเปลี่ยนชื่อในบริบทของการสร้างสัญลักษณ์ตัวตนใหม่ ด้วยหวังว่า
บุณิกา (หญิงผู้มีบุญ) จะลบเลือนล้มหายไปจากเด็กผู้หญิงคนนี้

แน่นอนว่า การเปลี่ยนสัญลักษณ์นั้นเป็นเสมือนการเปลี่ยนเสื้อผ้า
คนที่สวมเสื่อผ้านั้นก็ยังเป็นคนเดิม แต่สัญลักษณ์ก็เป็นเสมือนข้อตกลง
ระหว่างบุณิกากับสังคมรอบข้าง เป็นการขอเจรจา ขอบิณฑบาต หรือ
อะไรก็ตามแต่ ..ซึ่งบุณิกาฉลาดพอที่จะเข้าใจแนวคิดนามธรรมนี้
และถอยห่างออกไป ยินยอมให้ความเป็น “ชนกานต์” เข้ามาครอบ
ครองร่างนี้อยู่สืบมาหลายปีเพื่อสันติสุข

อย่างไรก็ตาม บุณิกา ชาตกุล ไม่เคยจากไป
และชนกานต์ก็ใช่ว่าเพิ่งจะถือกำเนิดพร้อมการตั้งชื่อใหม่ แต่เคย
อยู่ในร่างนี้มาแต่เดิม

ดังเช่นผู้ทำงาน visual art ทั่วไป
ความทุกข์ไม่ใช่แค่ความทุกข์ แต่เป็นแหล่งทรัพยากร ..ความทุกข์
สามารถใช้เป็นประสบการณ์ และประสบการณ์สามารถนำสู่ปัญญา
ความโศกเศร้าสามารถนำมาใช้เป็นพลังงานสร้างสรรค์

ในอารมณ์ทั่วไป ชนกานต์ บุณิกา ชาตกุล มองชีวิตอลเวงที่ผ่านมา
เป็นเรื่องตลก และยังเป็นแหล่งทรัพยากรทางความคิดสร้างสรรค์อัน
มีค่าของตนเอง

03

SHE NEVER LEAVES ME เป็นเพียงชื่อชั่วคราวระหว่างการสร้าง
(working title) เป็นงานประเภทบอกเล่าเรื่องราวชีวิต (biographical
narrative)
ในลักษณะที่อยู่บนจินตนาการมากกว่าการบันทึก
เหตุการณ์ตามสภาพจริง คือเป็นงานกึ่งนิยาย – ไม่ใช่สารคดี ..ดู
เหมือนงาน self portrait แต่ก็ไม่ใช่ self portrait ในแบบทั่วไปที่เรา
รู้จักคุ้นเคย (คือเป็นมากกว่าการถ่ายรูปตัวเอง) และงานมีแนวคิด
ซับซ้อนอยู่เบื้องหลัง ทั้งยังสามารถตีความหมายได้หลากหลาย คือ
จะมองให้ลึกก็ได้ เพราะทุกอย่างล้วนมีที่มาที่ไป มีเรื่องจริงแอบอิงอยู่
ทั้งสิ้น หรือจะมองกันตื้นๆ แค่ความรู้สึกเฉพาะภาพ เฉพาะบุคคล
ก็สามารถทำได้ เพราะรูปแบบงานไม่ได้ทำให้วุ่นวายซับซ้อนอะไร
จะดูกันแค่น่ารัก สวยงาม ตลก พิลึก น่าฉงน ..ก็ทำได้ไม่ผิดประเพณี –
เรียกว่าได้ออกแบบงานมาให้ดูได้อย่างสบายๆ ..

ซึ่งในส่วนนี้ ทำให้นึกถึงงานเก่าแก่ของ Cindy Sherman ในชุด
Untitled Film Stills ที่แม้ถูกประทับตราเป็นงานภาพถ่าย postmodern
ไปเรียบร้อยนานแล้ว แต่ก็ยังเป็นงานที่คนดูมีสิทธิอันชอบธรรมที่อาจ
ตีความหมายนอกเหนือไปได้ เพราะในงานของซินดี้ เชอร์แมนชุดนั้น
หากมองในมุมของ modernists ก็คืองาน self portrait อย่างหลีก
เลี่ยงไม่ได้ แต่ถ้ามองในมุมของโพสต์โมเดิร์น เขาถือว่าซินดี้ เชอร์แมน
ในภาพถ่ายไม่ใช่ตัวตนของซินดี้ เชอร์แมน แต่เป็นสัญลักษณ์แทนค่า
”ฐานะของสตรีตามค่านิยมอเมริกัน” ซึ่งตัวศิลปินกำลังวิพากษ์วิจารณ์
อยู่ (ในงาน) ดังนั้นในมุมองโพส์โมเดิร์น(ทางภาพถ่าย)งานซินดี้
เชอร์แมนชุดนี้จึงมิใช่ self portrait

งานของชนกานต์ บุณิกา ชาตกุล ใช้ตนเองเป็นนางแบบในภาพ
ทุกภาพ หากมองตรงจุดนี้ย่อมเข้าข่ายของ self portrait เหมือนกัน
แต่ชนกานต์ หรือ บุณิกา ในภาพก็ไม่ใช่ตัวตนทั้งหมดของเธอจริงๆ
และสับสนยิ่งกว่านั้นคือ..บางครั้งความเป็นชนกานต์ และความเป็น
บุณิกาก็ไม่อาจแบ่งแยกออกจากกันได้ชัดเจนตลอดเวลา บางครั้ง
เธอต่างกันราวสีขาวกับสีดำ บางครั้งเธอมาเป็นสีเทา คือไปได้ทั้งสอง
ทางในเวลาเดียวกัน – ซึ่งความไม่ชัดเจนตรงนี้ ก็คือสภาพชีวิตของ
มนุษย์เรานั่นเอง ไม่มีใครดีพร้อม ไม่มีใครชั่วสมบูรณ์แบบ ..
”ความชัดเจน”เป็นสิ่งสมมุตสำหรับใช้เตือนสติผู้คนที่ยังไม่พร้อมทาง
วิจารณญาณเท่านั้น .. เมื่อวิเคราะห์มาถึงจุดนี้ ย่อมทำให้ความเป็น
self portrait ในแบบที่เราคุ้นเคยดูลดทอนลงไปมากมาย และก้าวสู่
งานเชิงความคิด (conceptual)

ลักษณะของงานภาพถ่าย เป็นแบบที่เรียกว่า stage photography
หรือภาพจัดฉากในความหมายธรรมดาคือ สถานที่ – เหตุการณ์ที่
ถูกจำลองขึ้นมาเพื่อใช้ในการถ่ายทำ และให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์
ของผู้ออกแบบ อย่างเช่นงานภาพถ่ายโฆษณาเกือบทั้งหมด ล้วนเป็น
งานแบบจัดฉากขึ้นมา หรือเข้าข่าย stage photography ทั้งสิ้น
งานประเภท still life ก็พอเรียกได้ว่าเป็นภาพถ่ายประเภทเดียวกัน
นี้ได้ แต่เขาจะไม่ค่อยเรียกกันเพราะมันมีชื่อของมันอยู่แล้ว คือ still life
หรือภาพหุ่นนิ่ง ซึ่งเป็นการถ่ายสิ่งของปราศจากชีวิต ..

stage photographyมักจะเป็นงานที่จัดฉากขึ้นเพื่อให้มีเรื่องราว
มีเหตุการณ์ (ถ้าจัดแล้วไม่มี ก็ไม่รู้ว่าจะจัดขึ้นหาสวรรค์อะไร) ศิลปินที่
ทำงานแนวนี้มีอยู่มากมายนับไม่ถ้วน แต่คนที่มีชื่อเสียงคุ้นเคยใน
ศตวรรษนี้ ก็น่าจะเป็น Nan Goldin ซึ่งถ้าหากดูกันผิวเผินที่รูปแบบ
ฉาบฉวย ก็จะพบว่าศิลปินหญิงคนนี้ค่อนข้างจะมีอิทธิพลต่อการทำงาน
ของชนกานต์อยู่ไม่น้อย แต่แน่นอนที่สุดว่า ด้วยความต่างทางวัยวุฒิ
วัฒนธรรมและวิถีชีวิตประจำวัน ย่อมทำให้การมองโลกและการนำ
เสนอแตกต่างจากต้นตออิทธิพลอย่างสิ้นเชิง โดยเฉพาะในด้านอารมณ์ –
เนื้อหา แม้นจะบอกเล่าเรื่องราวของผู้หญิงในสังคมปัจจุบัน แต่ก็เป็น
ผู้หญิงจากคนละโลก คนละมิติ คนละกระบวนคิด

เมื่อกล่าวถึงต้นตออิทธิพลทางความคิดและรูปแบบนำเสนอ
เป็นที่น่าแปลกใจอยู่บ้างว่า ความใกล้เคียงในเชิงนามธรรม ในงาน
ของชนกานต์นั้น กลับใกล้เคียงกับงานเก่าแก่ของ Francessca
Woodman ศิลปินหญิงผู้ล่วงลับไปด้วยวัยอันเยาว์ งานของ
ฟรานเชสก้า วู้ดแมน เป็นภาพขาวดำเลือนราง เงาเคลื่อนไหวใน
จินตนาการ บรรยากาศคล้ายกับย้อนยุคไปสมัยวิคตอเรี่ยน แต่ก็เป็น
สภาพแวดล้อมในยุคของเธอเอง ฉากหลังที่ผุพัง – งดงามในแบบ
น่าขนลุก แต่ก็ไม่ได้สร้างความน่ากลัวในภาพแม้แต่น้อย งาน
ของฟรานเชสก้า วู้ดแมนส่วนมาก แม้นมิได้พยายามบอกให้ชัดเจน
ก็เป็นที่รู้กันว่าทั้งหมดคือภาพสะท้อนของตัวเธอเอง เป็นบทกวีที่
เขียนด้วยภาพถ่ายก็ว่าได้ ซึ่งเราสามารถสัมผัสอารมณ์เปราะบาง
ที่เคลือบคลุมอยู่ในงานของเธอและอาจเป็นความเปราะบางนั้นเอง
ที่ทำให้ฟรานเชสก้า วู้ดแมนต้องจากโลกนี้ไปอย่างรวดเร็ว

ที่กล่าวข้างต้นว่า เป็นที่น่าแปลกใจอยู่บ้างที่งานของชนกานต์นั้น
กลับใกล้เคียงกับงานเก่าแก่ของ Francessca Woodman ทั้งที่รูปแบบ
นำเสนอปัจจุบัน (คืองานที่ตีพิมพ์) ไม่ได้มีส่วนคล้ายคลึงเลยสักนิดเดียว –
นั่นเป็นเพราะสิ่งที่เห็นขณะนี้ คือสิ่งที่ได้กลายร่างมาจากงานชุดแรก
ของชนกานต์ในงานชุดแรก หรือชุดต้นกำเนิดของชนกานต์นั้น มี
บรรยากาศในแบบเดียวกับฟรานเชสก้า วู้ดแมนอย่างไม่ได้ตั้งใจ ..ที่
กล้าบอกว่า “อย่างไม่ได้ตั้งใจ” ก็เพราะทราบดีว่าชนกานต์เพิ่งมารู้จัก
ฟรานเชสก้า วู้ดแมนในภายหลัง

จุดนี้น่าสนใจ เพราะศิลปะภาพถ่ายมักสะท้อนความเป็นตัวตนเจ้าของ
งานอยู่เสมอ ในบางอารมณ์ของชนกานต์ที่มีส่วนคล้ายคลึงกับ
ฟรานเชสก้า วู้ดแมน ..แต่แน่นอนว่าเธอไม่สามารถแบกอารมณ์ไปได้
ตลอดเวลา ไม่สามารถอยู่กับบรรยากาศเช่นนั้นไปได้ในฐานะงาน
คอนเซปทั้งชุด งานของเธอกลายสภาพไปเองตามธรรมชาติของเธอเอง –
นั่นเป็นเพราะเด็กผู้หญิงที่ชื่อ บุณิกา ไม่เคยจากไปไหน ..บุณิกาไม่สนุก
กับความอ่อนไหวเปราะบาง ไม่ยินดีกับความโศกเศร้าแบบผู้หญิงๆ
บุณิกามองความทุกข์เป็นเรื่องตลก เป็นเรื่องที่ต้องฉกฉวย บุณิกามอง
เพื่อนที่กระเด็นออกจากกระจกรถด้วยความเร็วสูง จนลูกตาทะลักออก
จากเบ้า ไม่ต่างจากตัวการ์ตูนใน Happy Tree Friends เลือดสาด
กระจัดกระจาย ..บุณิกามีวิธีจัดการกับความโหดร้ายของชีวิต..ในแบบ
ของเธอเอง คือมองให้มันเป็นอดีตน่าขบขันไปเสีย แล้วนำมาเป็นแหล่ง
ทรัพยากรทางความคิด

สิ่งที่เธอแสดงออก นอกจากเป็นบางส่วนของ”ความเป็นตัวตน”
ของเธอเองแล้ว ยังสะท้อนสภาพของโลกรอบข้างเธออีกด้วย โดยเฉพาะ
ประเทศไทยในสภาวะ (กึ่ง) สงครามกลางเมืองปัจจุบัน บุคลิกที่ขัดแย้ง
แตกต่างในร่างเดียวกัน คล้ายคลึงกับสภาพ “สองประเทศ – หนึ่งแผ่นดิน”
ที่เกิดขึ้นในเมืองไทยขณะนี้ .. แน่นอนว่า ชนกานต์คงจะไม่ได้นึกถึงนัย
ทางการเมืองอะไร แต่เป็นธรรมดาของงาน visual ที่เชื้อเชิญจินตนาการ
ผู้คนให้คิดไปได้ต่างๆนาๆ

cover of NATNALIN issue 39


focus on Christian Lacrox et ses invites
LES RENCONTRES ARLES PHOTOGRAPHIE
Expositions 8 juillet - 14 septembre 2008

(งานเทศกาลภาพถ่าย ที่เมืองอาร์ค ประเทศฝรั่งเศส)

see sample pages of BuNiKa 's works in NATNALIN 39 here

published street documents (2007)
BuNiKa 's works on schoolgirl uniform documents in NATNALIN magazine, vol 5 no 36 yera 2007
click to return to BuNiKa Snaps main page